
7 วิธีออกแบบบ้านเอง
7 วิธีออกแบบบ้านเอง ให้สวยตรงใจ ใช้งานได้จริง หลักเบื้องต้นที่ควรรู้ก่อนลงมือ การออกแบบบ้านที่ดีและมีประสิทธิภาพต้องทำอย่างไร ใครอยากรู้ตามมาดูการออกแบบบ้านเองให้เป๊ะปังแบบไม่ง้อมืออาชีพกันได้เลย
หลักการออกแบบบ้าน สิ่งที่ควรรู้คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจสร้าง
หลักการออกแบบบ้าน เป็นสิ่งสำคัญมากก่อนการสร้างบ้านแต่ละหลังขึ้นมาไม่ใช่ว่าจะมีแค่ที่ดิน แล้วจ้างผู้รับเหมามาก่อสร้างบ้านเพียงแค่นั้น แต่จำเป็นต้องมีการออกแบบบ้านที่ดีและรอบคอบก่อนที่จะเริ่มลงมือก่อสร้าง เพื่อให้ได้บ้านที่ตรงตามความต้องการและเหมาะสมกับเจ้าของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของงบประมาณ การคำนวณวัสดุที่จะต้องนำมาใช้ในการก่อสร้าง ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างแต่ละขั้นตอน ตลอดจนกระทั่งเพื่อให้ได้รูปแบบของบ้านที่ชอบ และตรงตามรสนิยม เจ้าของบ้านแต่ละคน ส่วนการออกแบบบ้านนั้นหากเจ้าของบ้านไม่ต้องการโครงสร้างบ้านที่สลับซับซ้อนมากนักก็สามารถออกแบบบ้านได้เอง แต่ถ้าเป็นบ้านที่มีความซับซ้อนหรืองานระบบเยอะๆก็ควรว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือสถาปนิกในการออกแบบให้มาดูแล เพียงแค่เจ้าของบ้านบอกความต้องการว่าอยากได้บ้านลักษณะไหน สถาปนิกก็จะดำเนินการให้ และสำหรับหลักการที่นำมาใช้ในการออกแบบบ้านนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้
1.หลักการออกแบบบ้านกำหนดสไตล์
จุดเริ่มต้นของการออกแบบบ้านการเลือกสไตล์ของบ้าน เป็นการกำหนด ขอบเขต เป้าหมาย เพื่อให้ความฝันที่คิดไว้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยดูจากแบบบ้านตาม website ต่างๆ หรือเวลาไปที่ไหนแล้วพบเจอแบบที่ถูกใจก็ถ่ายรูปเก็บไว้เผื่อนำมาใช้เลือกและมาเป็นแนวทางในการออกแบบหรือลองนำเอามาประยุกต์กับบ้านในฝันของเราได้ ซึ่งสไตล์ของบ้านก็มีให้เลือกอยู่มากมาย เช่น ไทยประยุกต์, Vintage, Loft, Minimal, Tropical หากว่าเจ้าของบ้านมีความชอบหลายสไตล์ก็อาจจะนำหลายๆแบบมาผสมผสานเข้าด้วยกัน อย่างละนิดหน่อย เพื่อให้กลายเป็นสไตล์ในแบบของตนเอง ทั้งนี้การออกแบบให้ได้สไตล์ที่ชอบจะต้องคำนึงถึงสถานที่ และชุมชนที่อาศัยอยู่รอบๆเพื่อใช้ในการพิจารณาร่วมอยู่ด้วย
2.หลักการออกแบบกำหนดขนาด
โดยเป็นการกำหนดขนาดพื้นที่ใช้สอยของแต่ละห้องลงไป ต้องการให้มีความกว้าง ยาว กี่เมตร การกำหนดขอบเขตการใช้งานของแต่ละห้องจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์หาพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมดได้ ซึ่งผลวิเคราะห์นี้จะทำให้การออกแบบชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้รู้อีกว่าควรสร้างบ้านกี่ชั้นถึงจะเหมาะสม กรณีที่มีที่ดินพร้อมปลูกสร้างแล้วจึงจำเป็นต้องออกแบบให้สอดคล้องกับที่ดินที่มีอยู่ แต่หากว่าคุณยังไม่ได้ซื้อที่ดิน การกำหนดขอบเขตเรื่องพื้นที่ใช้สอย จะช่วยทำให้คุณหาซื้อที่ดินได้ตามขนาดที่ต้องการ แถมยังสามารถนำไปใช้อ้างอิงกับการประมาณงบประมาณในการก่อสร้างได้ด้วย
3.ออกแบบโดยกำหนดตำแหน่ง และทิศทางลม
การออกแบบบ้านที่ดีนอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว อีกหนึ่งสิ่งก็คือการออกแบบให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เพื่อให้การอยู่อาศัยภายในบ้านเป็นไปอย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงควรนึกถึงทิศทางของแสงแดด และทิศทางลม ตามหลักธรรมชาติแสงแดดจะส่องมากในทิศตะวันตก และใต้ ฉะนั้นห้องที่ต้องการแสงมากหรือห้องที่ต้องการกำจัดความชื้นจึงควรออกแบบให้หันไปทางทิศนั้น เช่น ห้องน้ำ, ห้องครัว, ห้องซักล้าง เป็นต้น ส่วนห้องที่ต้องการปริมาณแสงที่เพียงพอเหมาะ เช่น ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ห้องทำงาน, ห้องดูหนัง เพราะห้องเหล่านี้ถ้ามีแสงเข้ามาเกินไปก็จะทำให้ห้องร้อนได้เช่นกัน ข้อดีของการออกแบบด้วยหลักการนี้ยังช่วยประหยัดพลังงาน เพราะถ้าบ้านมีแสงส่องสว่างเข้ามาเพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในช่วงเวลากลางวัน
4.การวางตำแหน่งของเครื่องปรับอากาศ
อย่างที่ทราบกันดีว่าด้วยสภาพภูมิอากาศประเทศเราเป็นเมืองร้อน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องติดเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนที่ผู้อยู่อาศัยต้องการความเย็นสบายเวลานอน การออกแบบห้องนอนจึงต้องคำนึงถึงมุมที่สามารถวางเครื่องปรับอากาศ รวมทั้งจุดตำแหน่งของเครื่องระบายความร้อน ต้องไม่รบกวน และไม่ดูดความร้อนกลับเข้ามา หรือจะติดฉนวนกันความร้อนเพิ่มเข้าไป ก็ช่วยให้ห้องมีความเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
5.ออกแบบเพื่อป้องกันเสียง
ในที่นี้หมายถึงทั้งเสียงรบกวนจากภายในบ้านและภายนอกบ้าน เช่น จากถนนหน้าบ้าน, เสียงจากข้างบ้าน ดังนั้นจึงควรออกแบบป้องกันเสียงจากที่ต่างๆ เช่น การออกแบบให้หน้าต่างกันเสียงได้ , การจัดแบ่งพื้นที่การใช้งานเป็นสัดส่วน, การติดตั้งฉนวนกันเสียง, การทำกำแพงสองชั้น หรือการใช้ประตูทึบ เป็นต้น
6.ออกแบบบ้านโดยคำนึงถึงอนาคต
ในการออกแบบ้านต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ และมองการณ์ไกลไปถึงอนาคต เพราะนอกจากจะคิดถึงเรื่องความสะดวกสบายของทุกคนภายในบ้านแล้ว ยังต้องคิดเผื่อว่าหากสมาชิกในครอบครัวมีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วย ควรจะเลือกสร้างห้องหรือใช้โครงสร้างบ้านที่ดูแล้วปลอดภัย หลีกเลี่ยงการมีพื้นต่างระดับเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และควรเพิ่มห้องนอนชั้นล่างเพื่อความสะดวกของคนในครอบครัว และอย่าลืมเผื่อโครงสร้างกรณีที่อาจจะต้องมีการต่อเติมเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน หากต้องมีสมาชิกใหม่เข้ามาเพิ่ม
แนวคิดออกแบบพื้นที่ส่วนกลางสำหรับคนสูงวัยอยู่อาศัยอย่างมีความสุข
1. ออกแบบพื้นที่ให้เอื้อต่อการเคลื่อนไหว
เมื่อก่อนสิ่งที่คนออกแบบให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือการจำกัดระยะการเดินระหว่างห้องพักส่วนตัวกับพื้นที่ส่วนกลางให้ได้มากที่สุด แต่หลังจากที่มีงานวิจัยพบว่าการเดินช่วยให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวมากขึ้น การออกแบบพื้นที่ให้เอื้อต่อการเคลื่อนไหวจึงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญอีกครั้ง ทั้งโถงทางเดินที่ยาวขึ้น ห้องที่ขนาดใหญ่ขึ้น หรือแม้กระทั่งห้องออกกำลังกาย แม้แต่ผู้สูงวัยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวเอง การได้เดินไปจนครบแนวทางเดินที่ออกแบบไว้ให้ก็ช่วยให้เกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในตัวเอง
2. กำจัดจุดอ่อนที่เกิดจากพนักงานดูแลผู้สูงวัยด้วยการให้พื้นที่ส่วนตัวแก่พวกเขา
ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานดูแลผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้บ่อยๆ นั่นย่อมส่งผลถึงคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุที่ด้อยลง อัตราการลาออกที่เพิ่มขึ้นหรือแย่ที่สุดคือมีแนวโน้มเป็นผู้ทำร้ายผู้สูงวัยเสียเอง
เพื่อขจัดปัญหานี้ให้หมดไป การออกแบบให้มีพื้นที่เล้านจ์ ห้องครัว และพื้นที่สำหรับงีบหลับในเวลาพักของพนักงานโดยเฉพาะกลายมาเป็นมาตราฐานการออกแบบพื้นที่เพื่อผู้สูงวัยในปัจจุบัน พื้นที่ที่กล่าวมานี้ควรมีขนาดกว้างขวาง เต็มไปด้วยแสงธรรมชาติ สามารถจัดเก็บเครื่องมือและยาได้
ในหลายแห่งยังเพิ่มพื้นที่ห้องเรียน เพื่อช่วยให้เหล่าเด็กฝึกงานและนักเรียนพยาบาลสามารถศึกษาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องขณะลงพื้นที่จริง รับออกแบบบ้าน
3. ผลักดันห้องครัวให้เป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์และทำกิจกรรมร่วมกัน
แทนที่จะให้ผู้สูงอายุนั่งดูทีวีหน้าโซฟาทั้งวัน คุณสามารถจัดกิจกรรมสอนทำอาหาร หรือให้ผู้สูงวัยได้แสดงฝีมือการทำอาหารแก่สมาชิกอื่นๆ เชิญสมาชิกในครอบครัวมาเยี่ยมและช่วยกันทำเมนูเด็ดได้ สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างบรรยากาศความเป็นบ้าน และยังช่วยส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้อีกด้วย
4. นึกถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างโรงแรมหรู
จากความต้องการที่พักสำหรับผู้สูงวัยในระดับหรูที่เพิ่มมากขึ้น คุณจำเป็นต้องเตรียมการออกแบบให้ตรงความคาดหวัง ไม่สิ ต้องเกินความคาดหวังของพวกเขาด้วยซ้ำไป
เพิ่มห้องเรียนออกกำลังกาย บริการเสริมสวย โรงหนัง สปา สระว่ายน้ำ ห้องเก็บไวน์และร้านอาหารเข้าไปในพื้นที่ของคุณ จะช่วยให้สมาชิกสูงวัยรู้สึกราวกับพักอยู่ในโรงแรมหรู
นี่อาจต้องใช้เงินลงทุนที่หนักอยู่พอตัว แต่ลองนึกถึงผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่เก็บได้สูงถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐแยกต่างหากจากค่าเช่ารายเดือนแล้วก็น่าชื่นใจไม่ใช่น้อย ไหนจะเป็นตัวดึงดูดให้คนมาลงชื่อต่อคิวใช้บริการที่พักของคุณในอนาคตอีก
5. สร้างพื้นที่ใช้สอยให้ยืดหยุ่น
หากคุณมีงบประมาณที่จำกัดหรือมีพื้นที่ไม่มากนัก ให้ลองนึกถึงการออกแบบพื้นที่ให้สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย เช่น ออกแบบกำแพงที่เคลื่อนย้ายได้และห้องที่ประยุกต์ใช้ได้หลายจุดประสงค์ ครอบครัวของผู้สูงวัยอาจขอเช่ามันเพื่อใช้จัดกิจกรรมอย่างปาร์ตี้วันเกิดและอื่นๆ คุณก็จะมีรายได้ที่เข้ามาหลายทาง
6. เลือกทำเลใจกลางเมือง
เพื่อให้ผู้สูงวัยไม่รู้สึกเหงาจนเกินไปและยังได้ความรู้สึกของการพึ่งตัวเองได้มากยิ่งขึ้น พวกเขาไม่จำเป็นต้องรอเพื่อนหรือครอบครัวซื้อของที่อยากได้มาให้แต่สามารถเดินออกไปหาซื้อเองที่ร้านค้าในบริเวณใกล้เคียง เลือกทำเลที่มีสัญญาณไฟจราจรและป้ายบอกทางต่างๆ ชัดเจน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพวกเขาจะไม่หลงทางเสียก่อนที่จะกลับมาถึงที่พัก
7. แยกพื้นที่ส่วนกลางและส่วนรวมให้ชัดเจน
หนึ่งในปัจจัยสำคัญของครอบครัวก่อนตัดสินใจให้ผู้ใหญ่ของเขาเข้าพักกับที่ใดที่หนึ่งคือความเป็นส่วนตัวที่ผู้สูงวัยของเขาจะได้รับ และตัวผู้สูงวัยเองก็อยากได้สิ่งนี้ด้วยเช่นกัน
การดูแลและการรักษาบางอย่างท่ามกลางสายตาเพื่อนผู้สูงวัยอื่นที่อยู่ใต้ชายคาเดียวกันอาจไม่ทำให้รู้สึกสะดวกใจเท่าไรนัก คุณควรออกแบบพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยให้แยกชัดเจนกับพื้นที่รับการรักษาพยาบาล หรือแม้กระทั่งการจัดห้องรับรองระหว่างรอพบแพทย์ให้เป็นเรื่องเป็นราว
8. คงสภาพแวดล้อมให้เหมือนอยู่บ้าน
ส่วนที่น่ากังวลเมื่อก้าวเข้าสู่วัยชราไม่ใช่ตีนกาหรือการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ แต่คือเรื่องของความเป็นอยู่หลังจากนั้น ผู้สูงอายุเกือบทั้งหมดล้วนแต่ยังอยากอยู่บ้านของตัวเอง แต่มันเป็นไม่ได้เสมอไปตราบใดที่พวกเขาต้องได้รับการดูแลมากกว่าปกติตามอายุที่เพิ่มขึ้น สมาชิกในครอบครัวอาจไม่สามารถจัดการเรื่องความเป็นอยู่ทั้งอาบน้ำ แต่งตัว ให้อาหาร พาไปเดินเล่น ได้ดีเท่าที่ที่พักผู้สูงวัยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล ทางออกที่เป็นไปได้คือการสร้างสภาพแวดล้อมของที่พักให้เหมือนบ้านมากที่สุด มีห้องครัว ห้องนั่งเล่น พื้นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และมีห้องนอนส่วนตัวให้แก่พวกเขา
9. ใส่ใจการมองเห็น
ยิ่งอายุมากขึ้นความเสื่อมถอยทางประสาทสัมผัสยิ่งตามมา พยายามจัดแสงภายในและ ภายนอกอาคารให้สมดุล เพราะความแตกต่างของแสงสว่างเพียงนิดเดียวก็ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้สูงวัยได้ นอกจากนี้ควรจัดพื้นที่ให้ได้รับแสงธรรมชาติ เพราะมีงานวิจัยที่พบว่าแสงอาทิตย์ช่วยกระตุ้นนาฬิกาชีวิตและระบบต่อมไร้ท่อที่ช่วยในเรื่องสมดุลของร่างกาย รับออกแบบบ้าน
10. เชื่อมโยงการสื่อสารผ่านการฟัง
ผู้สูงวัยจะไวต่อการรับรู้เสียงความถี่ต่ำได้น้อยลง การสูญเสียการได้ยินไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความสงสัยในตัวเองแต่ยังมีผลต่อสุขภาพทางกาย
พื้นที่ที่ออกแบบเป็นอย่างดีจะทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการตะโกนคุยกันเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยิน กำจัดเสียงรบกวนต่างๆ ด้วยการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในที่พื้นผิวไม่สะท้อนเสียง เช่น ผนังกำแพงที่มีช่องโพรง วัสดุปูพื้นแบบนิ่มที่ช่วยกระจายคลื่นเสียง หรือแผ่นซับเสียงที่ช่วยให้ห้องเงียบลงได้